การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากพิษแมงกะพรุน
ก่อนที่จะเข้าปฐมพยาบาลผู้ถูกพิษแมงกะพรุน ผู้ที่จะเข้าช่วยเหลือจะต้องป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากการถูกพิษแมงกะพรุนและกลายเป็นผู้ป่วยไปเองด้วย พึงระลึกว่าเป้าหมายหลัก 3 ประการในการปฐมพยาบาลผู้ถูกพิษแมงกะพรุน คือ
- ป้องกันผู้เข้าช่วยเหลือก่อน
- ลดและยับยั้งการทำงานของเข็มพิษ
- เก็บล้างหนวดแมงกะพรุนที่ยังตกค้างอยู่ออกให้หมด
การป้องกันตัวของผู้เข้าช่วยเหลือ
ทำได้โดย
- สวมชุดที่รัดกุม มีอุปกรณ์ช่วยเหลือที่เหมาะสม เช่น ถุงมือ ผ้าสะอาด และต้องพิจารณาพื้นที่ให้แน่ใจว่าตนเองปลอดภัยจากแมงกะพรุนด้วย
- ให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการทำงานของเข็มพิษ
การลดและยับยั้งการทำงานของเข็มพิษ
ทำได้โดย
- ใช้น้ำส้มสายชูเทราดลงไปบนแผล (อาจใช้น้ำทะเลแทนน้ำส้มสายชูได้ หรือใช้น้ำอัดลมแทนก็ได้แต่ได้ผลน้อยกว่า)
- หลีกเลี่ยงการขัดถูกหรือขยี้นวด
- สำหรับแผลบริเวณดวงตา ให้ใช้ผ้าชุบน้ำส้มสายชูซับเบาๆ รอบๆ ดวงตา โดยระมัดระวังการสัมผัสกับลูกตาโดยตรง
- น้ำส้มสายชูล้างพิษของแมงกะพรุนได้หลายชนิด แต่สำหรับแมงกะพรุนไฟขวดเขียว น้ำส้มสายชูกลับกระตุ้นการทำงานของเข็มพิษด้วย จึงงดใช้กับแมงกะพรุนไฟขวดเขียวอย่างเด็ดขาด
- น้ำจืด, เหล้า, แอลกอฮอล์, แอมโมเนีย, หรือน้ำปัสสาวะ จะกระตุ้นการปล่อยพิษ จึงงดใช้อย่างเด็ดขาด
ใช้ครีม Safe Sea ได้หรือไม่?
- โดยข้อมูลจากผู้ผลิต ครีมกันแดดกันพิษแมงกะพรุน Safe Sea มีไว้เพื่อใช้ป้องกันเป็นหลัก ไม่ได้กล่าวถึงการนำไปใช้ในการแก้ไขเมื่อถูกพิษแล้ว
- แต่โดยคุณสมบัติที่ครีมนี้สามารถหยุดการทำงานเข็มพิษได้โดยตรง ก็น่าจะช่วยหยุดป้องกันผู้ป่วยจากเข็มพิษที่ยังหลงเหลืออยู่บนผิวหนังของผู้ป่วยได้อย่างแน่นอน
- ซึ่งก็สอดคล้องกับที่เราได้รับข้อมูลตอบกลับจากผู้ใช้หลายรายว่า แม้ตอนโดนหนวดแมงกะพรุนไปแล้ว เมื่อนำครีมมาทาบริเวณนั้น ก็ช่วยลดอาการแพ้ได้มาก (นั่นคือ กับเข็มพิษที่ยังตกค้างอยู่บนผิวหนัง และยังไม่ได้ทำงานพ่นพิษออกมา)
- ตอนนี้มีแบบสเปรย์ (air-spray) ออกมาเพิ่มด้วย ช่วยให้สามารถพ่นครีมลงไปบนผิวได้กระจายทั่วถึง ช่วยประหยัดเนื้อครีมกว่าแบบโลชั่นมาก
การเก็บล้างหนวดแมงกะพรุนออก
ทำได้โดย
- ใช้บัตรพลาสติกแข็งหรือสันมีดขูดบริเวณผิวที่โดนพิษ
- ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูซับเอาเศษแมงกะพรุนที่ตกค้างอยู่ออก โดยระวังไม่ให้เป็นการลูบหรือขัดถูไปบนผิวผู้ป่วย แล้วห่อให้มิดชิดนำไปทิ้ง
การดูแลภายหลังการปฐมพยาบาล
- ในกรณีที่อาการรุนแรง เช่น ปวดมาก กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก ใจสั่น หายใจขัด หน้าซีด ให้นำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้อยู่ภายใต้การดูแลทางการแพทย์
- ยังคงงดใช้น้ำจืดหรือน้ำแข็งกับบริเวณที่สัมผัสหรือเกิดแผลต่อไปอีก เนื่องจากอาจกระตุ้นให้มีการปล่อยพิษออกมาอีก