- พิษของแมงกะพรุนบรรจุอยู่ในเซลเข็มพิษที่เรียกว่า นีมาโตไซต์ (nematocyte) ซึ่งกระจายอยู่ทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณหนวด ส่วนด้านบนของหมวกจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
- เซลเข็มพิษแต่ละเซลจะมีถุงพิษ 1 ถุงเรียกว่า นีมาโตซีสต์ (nematocyst) ซึ่งบรรจุน้ำพิษและมีท่อนำพิษขดอยู่ โดยมีเข็มพิษอยู่ที่ปลายท่อ เมื่อถุงพิษทำงาน จะยิงเข็มพิษนำออกไปก่อนเพื่อเจาะผ่านชั้นผิวนอกของเหยื่อ แล้วจึงดันเอาท่อนำพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อให้ลึกขึ้นอีก ก่อนจะดันน้ำพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อตามไป
- พื้นที่เพียงหนึ่งตารางเซนติเมตรบนหนวดแมงกะพรุน อาจมีเซลเข็มพิษกระจายอยู่ตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสนต่อม ตามแต่ชนิดของแมงกะพรุน ดังนั้น หนวดแต่ละเส้นอาจมีเซลเข็มพิษอยู่หลักแสนถึงหลักล้านเซลเลยทีเดียว
การทำงานของเซลพิษแมงกะพรุน
- เมื่อหนวดแมงกะพรุนสัมผัสกับผิวของสิ่งที่น่าจะเป็นเหยื่อ จะกระตุ้นให้ถุงพิษยิงเข็มพิษออกมาปักลงไปบนผิวของเหยื่อ แล้วฉีดพิษเข้าไป
- ขณะก่อนจะยิงเข็มพิษ ความดันภายในถุงพิษอาจจะสูงถึง 14,000kPa (140 bar) หรือสูงกว่า
- การยิงเข็มพิษของแมงกะพรุน ใช้เวลาน้อยกว่า 10 ในพันวินาที (10 millisec) เท่ากับมีอัตราเร่งมากกว่า 40,000 g (งานวิจัยล่าสุดระบุว่าน้อยกว่า 1 ส่วนล้านวินาที (1 microsec) หรือเทียบเท่ากับอัตราเร่งมากกว่า 5 ล้าน g) จัดเป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่เร็วที่สุด
- พิษของแมงกะพรุนยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก สารบางชนิดในพิษทำให้ผนังเซลฉีกขาด ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุให้เม็ดเลือดแดงแตกตัว สารบางชนิดก่อกวนการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
Scroll to top