แมงกะพรุนกลับหัว (Upside-down Jellyfish)
- แมงกะพรุนกลับหัว (Upside-down Jellyfish)
- แมงกะพรุนไข่ดาว (Fried Egg Jellyfish, Mediterranean Jellyfish)
- แมงกะพรุนไข่แดง (Egg-yolk Jellyfish)
- แมงกะพรุนหางจิ้งจก (Lizard-tail Jellyfish)
- แมงกะพรุนแผงคอสิงโต (Lion’s Mane Jellyfish)
- แมงกะพรุนอมตะ (Immortal Jellyfish)
- แมงกะพรุนหมวกซานตาคลอส (Santa’s Hat Jellyfish, Helmet Jellyfish)
- แมงกะพรุนยูเอฟโอ (Flying Saucer Jellyfish, Deep-Sea Crown Jelly)
- แมงกะพรุนไต่ใบไม้ (Leaf-crawler Jellyfish)
- แมงกะพรุนกะหล่ำดอก (Cauliflower Jellyfish, Crown Jellyfish)
- แมงกะพรุนหมวกดอกไม้ (Flower Hat Jelly)
- แมงกะพรุนดาร์ธเวเดอร์ (Darth Vader Jellyfish)
- แมงกะพรุนกล่องออสเตรเลีย (Australian Box Jellyfish, Sea Wasp)
- แมงกะพรุนกล่องอิรุคันจิ (Irukandji jellyfish)
- แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Portuguese Man’O War, Blue bottle Jellyfish)
- หวีวุ้นนักตีลังกา (Sea Gooseberry)
- สุดยอดแห่งความยาว – Giant Siphonophore
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassiopea spp.
หมวดหมู่ : Phylum Cnidaria >> Class Scyphozoa >> Order Rhizostomeae
สถานที่พบ : ชายฝั่งน้ำตื้นเขตร้อน
เจ้าแมงกะพรุนในสกุลนี้มีความอินดี้และน่าอิจฉา แม้ว่าพวกมันจะว่ายน้ำได้ แต่เธอไม่ว่ายจ้า… วันๆ เธอเอาแต่นอนเอนหลังติดพื้นทะเล ยืดหดลำตัวผลุบๆ เป็นจังหวะ เพื่อให้กระแสน้ำไหลผ่านเนื้อเยื่อ
ส่วนการหากินนั้น นางก็สุดแสนสบาย ไม่ต้องว่ายน้ำหากินเหมือนใครเขา เพราะในเนื้อเยื่อของนางจะมีสาหร่ายเซลล์เดียวที่ชื่อ Zooxanthellae (เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวกลุ่มเดียวกับที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อปะการัง) เป็นแม่ครัวส่วนตัว ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงและส่งพลังงานให้มัน โดยกว่า 90% ของพลังงานที่มันใช้ก็มาจากแม่ครัวพวกนี้
ร่างกายของแมงกะพรุนกลับหัวก็ช่างวิวัฒนาการมาให้เหมาะสมกับชีวิตติดพื้นแบบนี้เหลือเกิน ทั้งร่มที่แบนราบ และแขนรอบปากที่แผ่ออกด้านข้างแนวขนานกับพื้นแทนที่จะตั้งฉาก เพื่อเพิ่มพื้นที่รับแสงให้มากขึ้น เรียกได้ว่า เป็นแมงกะพรุนที่เกินมาเพื่อนั่งกินนอนกินโดยแท้
หากอยากเห็นเธอ ต้องตั้งใจมองหาที่พื้นทะเลดีๆ เพราะหากมองผ่านๆ อาจนึกว่าเป็นสาหร่ายได้
อ้างอิง : หนังสือ Jellyfish: A Natural History (เขียนโดย Lisa-ann Gershwin)