แมงกะพรุนหลายตัว ซ่อนเรือดำน้ำได้มิด
- แผลหายไว… ด้วยพลาสเตอร์รุ่นใหม่จากแมงกะพรุน
- จากแมงกะพรุนเกลื่อนหาด… สู่ผ้าอ้อมและผ้าอนามัยย่อยสลายได้
- กรองไมโครพลาสติกในน้ำทิ้ง ด้วยเมือกแมงกะพรุน
- Jelly-The Robot : สายลับตรวจจับโลกร้อน
- พลิกโฉมวงการแพทย์ ด้วยโปรตีนเขียวเรืองแสงจากแมงกะพรุน
- บอกลาปุ๋ยเคมี ด้วยปุ๋ยอินทรีย์จากแมงกะพรุน
- ไอติมเรืองแสง ด้วยโปรตีนแมงกะพรุน
- จากแมงกะพรุนพิษ… สู่ยาช่วยชีวิตคน
- เรือดำน้ำระบบขับเคลื่อนแมงกะพรุน
- แมงกะพรุนหลายตัว ซ่อนเรือดำน้ำได้มิด
อันที่จริง ถ้าพูดให้ถูกคือไม่ใช่แมงกะพรุน แต่เป็น ‘ไซโฟโนฟอร์’
ย้อนกลับไปในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเทคโนโลยีโซนาร์มีความสำคัญมากในการตรวจจับเรือดำน้ำของศัตรูที่บุกรุกเข้ามาในพื้นที่ แต่หลายครั้งความแปลกประหลาดเกิดขึ้น เมื่อสัญญาณจากโซนาร์ที่สะท้อนกลับมา ทำให้ดูเหมือนว่าพื้นทะเลดันอยู่ตื้นกว่าในแผนที่ อีกทั้งความลึกนี้ยังเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในแต่ละเวลาอีก… หรือว่าจะเป็นฝูงปลา ? แต่เมื่อมีการทดลองโยนอวนลงไป สิ่งที่ได้กลับมาคือความว่างเปล่า เสมือนมีพื้นปลอมๆ (False Bottom) ที่สัญญาณโซนาร์ไม่สามารถทะลุผ่านได้ ว่าแต่มันคืออะไร?
จนกระทั่งวันหนึ่ง มีคนตรวจเจอพื้นที่อยู่ตื้นกว่าความเป็นจริงนี้ จึงลงเรือดำน้ำไปดู สิ่งที่เขาพบคือไซโฟโนฟอร์สายพันธุ์ Nanomia bijuga กลุ่มใหญ่ ซึ่งเหตุผลที่มันปิดกั้นคลื่นโซนาร์ได้ ก็เพราะส่วนทุ่นของมัน (ที่ทำหน้าที่คล้ายถุงลมของปลา) มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 1 มิลลิเมตร ซึ่งสั่นพ้องกับคลื่นโซนาร์พอดี ทำให้คลื่นโซนาร์ไม่สามารถทะลุผ่านลงไปข้างใต้ได้
ผลก็คือ ฝ่ายที่รู้ความลับนี้ก็ใช้วิธีแล่นเรือดำน้ำไปข้างใต้ฝูงไซโฟโนฟอร์ เพียงเท่านี้ คลื่นโซนาร์จากด้านบนก็ตรวจจับไม่ได้แล้ว !
ข้อมูลจาก https://www.nature.com/scitable/blog/creature-cast/hiding_submarines_beneath_jellyfish