แมงกะพรุนหมวกซานตาคลอส (Santa’s Hat Jellyfish, Helmet Jellyfish)
- แมงกะพรุนกลับหัว (Upside-down Jellyfish)
- แมงกะพรุนไข่ดาว (Fried Egg Jellyfish, Mediterranean Jellyfish)
- แมงกะพรุนไข่แดง (Egg-yolk Jellyfish)
- แมงกะพรุนหางจิ้งจก (Lizard-tail Jellyfish)
- แมงกะพรุนแผงคอสิงโต (Lion’s Mane Jellyfish)
- แมงกะพรุนอมตะ (Immortal Jellyfish)
- แมงกะพรุนหมวกซานตาคลอส (Santa’s Hat Jellyfish, Helmet Jellyfish)
- แมงกะพรุนยูเอฟโอ (Flying Saucer Jellyfish, Deep-Sea Crown Jelly)
- แมงกะพรุนไต่ใบไม้ (Leaf-crawler Jellyfish)
- แมงกะพรุนกะหล่ำดอก (Cauliflower Jellyfish, Crown Jellyfish)
- แมงกะพรุนหมวกดอกไม้ (Flower Hat Jelly)
- แมงกะพรุนดาร์ธเวเดอร์ (Darth Vader Jellyfish)
- แมงกะพรุนกล่องออสเตรเลีย (Australian Box Jellyfish, Sea Wasp)
- แมงกะพรุนกล่องอิรุคันจิ (Irukandji jellyfish)
- แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Portuguese Man’O War, Blue bottle Jellyfish)
- หวีวุ้นนักตีลังกา (Sea Gooseberry)
- สุดยอดแห่งความยาว – Giant Siphonophore
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Periphylla periphylla
หมวดหมู่ : Phylum Cnidaria >> Class Scyphozoa >> Order Coronatae
สถานที่พบ : น้ำลึกทั่วโลก แต่ปัจจุบันนี้เริ่มรุกรานมาที่บริเวณน้ำตื้นแถบนอร์เวย์ในช่วงกลางคืนด้วย
นี่คือแมงกะพรุนน้ำลึกในทะเลอันดำมืด ผู้สามารถกะพริบแสงได้ราวกับไฟคริสต์มาส โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การกะพริบแสงของมันมีไว้เพื่อเตือนผู้ล่าให้กลัวและล่าถอย
นอกจากนั้น สีแดงที่ส่วนกระเพาะของมันยังมีเหตุผล นั่นคือการพรางตัว!
ที่มาที่ไปมีอยู่ว่า แพลงก์ตอนหลายชนิดที่เจ้าแมงกะพรุนกลืนลงท้องยังไม่ตาย แถมสามารถเรืองแสงได้ ซึ่งนั่นอาจเป็นการเรียกผู้ล่ามาหามัน ทางเดินอาหารสีแดงจึงเปรียบเสมือนเกราะกำบัง เพราะสีแดงเป็นสีที่มองไม่เห็นในทะเลลึก เพราะช่วงความยาวคลื่นของแสงสีแดงถูกดูดกลืนไปหมด
อ้างอิง: หนังสือ Jellyfish: A Natural History (เขียนโดย Lisa-ann Gershwin)
ภาพ: http://www.arcodiv.org/watercolumn/cnidarian/Scyphomedusae.html