แมงกะพรุนไข่ดาว (Fried Egg Jellyfish, Mediterranean Jellyfish)
- แมงกะพรุนกลับหัว (Upside-down Jellyfish)
- แมงกะพรุนไข่ดาว (Fried Egg Jellyfish, Mediterranean Jellyfish)
- แมงกะพรุนไข่แดง (Egg-yolk Jellyfish)
- แมงกะพรุนหางจิ้งจก (Lizard-tail Jellyfish)
- แมงกะพรุนแผงคอสิงโต (Lion’s Mane Jellyfish)
- แมงกะพรุนอมตะ (Immortal Jellyfish)
- แมงกะพรุนหมวกซานตาคลอส (Santa’s Hat Jellyfish, Helmet Jellyfish)
- แมงกะพรุนยูเอฟโอ (Flying Saucer Jellyfish, Deep-Sea Crown Jelly)
- แมงกะพรุนไต่ใบไม้ (Leaf-crawler Jellyfish)
- แมงกะพรุนกะหล่ำดอก (Cauliflower Jellyfish, Crown Jellyfish)
- แมงกะพรุนหมวกดอกไม้ (Flower Hat Jelly)
- แมงกะพรุนดาร์ธเวเดอร์ (Darth Vader Jellyfish)
- แมงกะพรุนกล่องออสเตรเลีย (Australian Box Jellyfish, Sea Wasp)
- แมงกะพรุนกล่องอิรุคันจิ (Irukandji jellyfish)
- แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Portuguese Man’O War, Blue bottle Jellyfish)
- หวีวุ้นนักตีลังกา (Sea Gooseberry)
- สุดยอดแห่งความยาว – Giant Siphonophore
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cotylorhiza tuberculata
หมวดหมู่ : Phylum Cnidaria >> Class Scyphozoa >> Order Rhizostomeae
สถานที่พบ : ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, ทะเล Aegean Sea, ทะเล Adriatic
นี่คือไข่ดาวใต้ทะเล!… หากมีโอกาสได้เจอจงดีใจ เพราะเธอไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และถ้าหากลองมองให้ดีๆ อาจเห็นปลาน้อยๆ โผล่หน้าออกมาจากกิ่งก้านของแขนรอบปาก ปลาพวกนี้อาศัยอยู่ที่นี่ เพื่อใช้แมงกะพรุนเป็นบังเกอร์กำบังภัยจากผู้ล่ามากมายในทะเล
เจ้าไข่ดาวนี้ ร่มของมันอาจกว้างได้ถึง 40 เซนติเมตร แต่โดยมากมักไม่เกิน 20 เซนติเมตร นางกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารหลัก แถมในเนื้อเยื่อก็มีสาหร่าย Zooxanthellae เป็นแม่ครัวส่วนตัว ช่วยสังเคราะห์แสงส่งอาหารให้เช่นเดียวกับปะการัง ช่วงกรกฎาคมถึงพฤศจิกายนคือช่วงที่มีโอกาสเห็นเจ้าไข่ดาวเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นช่วงที่ polyp แตกหน่อออกมาเป็น Medusa พร้อมๆ กัน
นอกจากนั้น เจ้าไข่ดาวยังถูกศึกษาในฐานะความหวังของการรักษามะเร็งเต้านมบางชนิด ด้วยสารบางอย่างจากมันที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเซลล์มะเร็งบางชนิดแบบเฉพาะเจาะจง โดยไม่ทำลายเซลล์ที่ดี แต่ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
ข้อมูล : https://www.inaturalist.org/taxa/324852-Cotylorhiza-tuberculata