แมงกะพรุนยูเอฟโอ (Flying Saucer Jellyfish, Deep-Sea Crown Jelly)
- แมงกะพรุนกลับหัว (Upside-down Jellyfish)
- แมงกะพรุนไข่ดาว (Fried Egg Jellyfish, Mediterranean Jellyfish)
- แมงกะพรุนไข่แดง (Egg-yolk Jellyfish)
- แมงกะพรุนหางจิ้งจก (Lizard-tail Jellyfish)
- แมงกะพรุนแผงคอสิงโต (Lion’s Mane Jellyfish)
- แมงกะพรุนอมตะ (Immortal Jellyfish)
- แมงกะพรุนหมวกซานตาคลอส (Santa’s Hat Jellyfish, Helmet Jellyfish)
- แมงกะพรุนยูเอฟโอ (Flying Saucer Jellyfish, Deep-Sea Crown Jelly)
- แมงกะพรุนไต่ใบไม้ (Leaf-crawler Jellyfish)
- แมงกะพรุนกะหล่ำดอก (Cauliflower Jellyfish, Crown Jellyfish)
- แมงกะพรุนหมวกดอกไม้ (Flower Hat Jelly)
- แมงกะพรุนดาร์ธเวเดอร์ (Darth Vader Jellyfish)
- แมงกะพรุนกล่องออสเตรเลีย (Australian Box Jellyfish, Sea Wasp)
- แมงกะพรุนกล่องอิรุคันจิ (Irukandji jellyfish)
- แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Portuguese Man’O War, Blue bottle Jellyfish)
- หวีวุ้นนักตีลังกา (Sea Gooseberry)
- สุดยอดแห่งความยาว – Giant Siphonophore
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atolla spp.
หมวดหมู่ : Phylum Cnidaria >> Class Scyphozoa >> Order Coronatae
สถานที่พบ : น้ำลึกทั่วโลก
นี่คืออีกหนึ่งสกุลแมงกะพรุนน้ำลึกที่มีความพิเศษ ซึ่งนอกจากรูปร่างหน้าตาจะเหมือน UFO แล้ว มันยังสามารถกะพริบจุดแสงเรืองสีฟ้าไล่วนเป็นวงรอบๆ ขอบของร่ม ในยามที่มันรู้สึกว่ามีศัตรูเข้ามาใกล้ ได้อีกด้วย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสัญญาณจุดแสงสีฟ้านี้ แทนที่จะเอาไว้ไล่ศัตรูไปไกลๆ กลับน่าจะวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อเรียกหาสัตว์ผู้ล่าตัวที่ใหญ่กว่า เพื่อมาข่มขู่หรือจัดการกับศัตรูตัวแรกแทน
เทคนิคการใช้แสงเรืองสีฟ้ารอบขอบของร่มหนวดนี้ เป็นแรงบันดาลใจ Dr. Edith Eidder พัฒนาระบบติดตามที่เรียกว่า “Eye in the Sea” ขึ้นมา โดยนอกจากจะใช้ไฟสีแดงอ่อนซึ่งไม่รบกวนทะเลลึกแล้ว เธอยังติดไฟวงแหวนสีฟ้าสดเพื่อดึงดูดสัตว์ผู้ล่าต่างๆ ให้เข้ามาหาและทีมงานของเธอจะได้ศึกษาอย่างสะดวก
นอกจากนี้ หนวดของมันยังมีความน่าสนใจอีกนิดด้วย นักวิทยาศาสตร์ที่สังเกตพวกมันจากเรือดำน้ำลึกพบว่า หนวดแต่ละเส้นของมันจะยาวไม่เท่ากัน หนวดที่ยาวทำหน้าที่จับเหยื่อประเภทไซโฟโนฟอร์ แมงกะพรุน หรือหวีวุ้น ส่วนหนวดที่สั้นกว่ามีไว้จับแพลงก์ตอนสัตว์
อ้างอิง: หนังสือ Jellyfish: A Natural History (เขียนโดย Lisa-ann Gershwin)ภาพ: NOAA Ocean Explorer