ระบบซ่อมแซมตัวเองสุดเจ๋ง
- ย้อนวัยสู่ความใสปิ๊ง
- ระบบซ่อมแซมตัวเองสุดเจ๋ง
- The Master of Survival
- ฟอสซิลแมงกะพรุนดึกดำบรรพ์
ในสัตว์หลายชนิด เช่น ปลาดาว, จิ้งจก, ซาลาแมนเดอร์ สามารถงอกส่วนของร่างกายที่ขาดไปได้ แต่สำหรับแมงกะพรุนพระจันทร์ (Moon Jellyfish) (Aurelia aurita) พวกมันมีวิธีการซ่อมแซมตัวเองที่ล้ำกว่านั้น
การค้นพบนี้เกิดขึ้นในห้องแล็บแห่งหนึ่ง เมื่อนักวิจัยอยากรู้ว่าหากเราตัดแขนแมงกะพรุน มันจะสามารถงอกใหม่ได้หรือไม่ พวกเขาจึงทดลองกับแมงกะพรุนพระจันทร์ที่อยู่ในระยะ Ephyra (แมงกะพรุนน้อยที่เพิ่งแยกตัวออกมาจาก Polyp) ซึ่งมีรูปร่างเหมือนดอกไม้ 8 แฉก เพราะในวัยนี้มีโครงสร้างเรียบง่ายและเห็นได้ชัดเจน
พวกเขาเริ่มต้นโดยวางยาสลบพวกมัน แล้วตัดแขนบางส่วนของมันทิ้ง ทำให้พวกมันเหลืออยู่ 2-7 แขน ตามแต่ว่าตัวไหนจะโชคดีโชคร้าย แล้วใส่กลับคืนลงในตู้ เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง แผลพวกมันก็เริ่มปิด แต่แทนที่พวกมันจะงอกแขนที่หายไปกลับมา มันกลับใช้วิธียืดหดกล้ามเนื้อเพื่อจัดเรียงเซลล์ใหม่ จนกระทั่งแขนที่เหลืออยู่ถูกจัดเรียงรอบๆ ตัวอย่างสมมาตร คือแต่ละแขนมีระยะห่างเท่าๆ กัน
นักวิจัยได้ทดลองต่อไปโดยหยดยาคลายกล้ามเนื้อลงในบางตู้ ซึ่งก็พบว่าในตู้นั้น แมงกะพรุนจะกลับคืนสู่ความสมมาตรช้าลง ในขณะที่เมื่อเพิ่มการกระตุ้นกล้ามเนื้อ กระบวนการจะเร็วขึ้น
เหตุผลที่พวกมันวิวัฒนาการมาในทิศทางนี้ ก็เพราะปัจจัยสำคัญของชีวิตแมงกะพรุน ไม่ใช่จำนวนแขน แต่คือความสมดุลของร่างกาย เพราะหากพวกมันมีร่างกายไม่สมมาตร มันก็จะกลายเป็นแมงกะพรุนแขนเป๋ ว่ายน้ำกะเผลกๆ และมีปัญหาในการกินอาหารด้วย
ภาพและข้อมูลงานวิจัยจาก https://www.pnas.org/content/112/26/E3365